เมตตาธรรม เจ้าประคุณสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ
เมตตาธรรม เจ้าประคุณสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ
สนามพระเครื่องวิภาวดี เวทีพระเครื่องยอดนิยม ขอเปิดรับพุทธ-ศักราชใหม่ 2557 ด้วยพระเครื่องมงคล ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งด้วยคุณงามความดีที่แต่ละรูป ได้สร้างให้ชาติบ้านเมือง ตามวิถีทางแห่งพระสงฆ์สาวก ด้วยความดีงามเหมาะสมทุกประการ จึงได้รับพระราชทานจารึกนามในแผ่น ทองคำ สุพรรณบัฏ สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ
ที่เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันมี 7 รูป เรียงตามลำดับอาวุโส ของการสถาปนาสมณศักดิ์ คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อัมพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภัททจารี) วัดสุทัศนเทพวราราม สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) วัดพิชยญาติ-การามวรวิหาร ซึ่งคาดว่ารูปใดรูปหนึ่งจะได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ต่อไป--สนามพระวิภาวดี จึงอาราธนาพระเครื่องที่เจ้าประคุณสมเด็จ 6 วัด ซึ่งได้จัดสร้างไว้ด้วยเจตนาดีงาม มาเป็นสิริมงคลต่อท่านผู้อ่านไทยรัฐในปีใหม่นี้ เจ้าค่ะ อามิตตพุทธ
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ( ช่วง วรปุญโญ ) วัดปากน้ำ หลวงพ่อสมเด็จวัดปากน้ำ ผู้เป็นศูนย์รวมใจของศิษยานุศิษย์ เกิดเมื่อ พ.ศ.2468 ที่สมุทรปราการ เมื่ออายุ 7 ปี บิดาถึงแก่กรรม ท่านจึงบรรพชาเป็นสามเณรหน้าไฟ จากนั้นชีวิตของท่านก็เริ่มผูกพันกับวัด จึงได้บรรพชาอีกครั้ง เมื่ออายุ 14 ปี ณ วัดสังฆราชา และย้ายมาอยู่วัดปากน้ำ เมื่อ พ.ศ.2488 ด้วยความเลื่อมใส หลวงพ่อสด ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ด้วยความขยัน จึงเรียนจบ ป.ธ. 9 และได้ศึกษาสมถะ-วิปัสสนา ตามแนววิชาธรรมกาย เป็นกำลังสานต่องานที่หลวงพ่อสดริเริ่มไว้ สร้างประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และมีเกียรติภูมิเกริกไกรไปทั่วโลก สำหรับพระเครื่อง - วัตถุมงคลที่ระลึกของท่าน ที่ได้รับความสนใจ คือ พระสมเด็จวัดปากน้ำ ซึ่งนำตำราที่ท่านได้ช่วย หลวงพ่อสด สร้างรุ่น 1-3 มาสร้างรุ่น 4-9 และยังมี เหรียญหลวงพ่อสด รุ่น ฉลองสุพรรณบัฏ ซึ่งจัดสร้างในคราวที่ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เมื่อ พ.ศ.2539.
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม เกิด วันที่ 29 ธ.ค.2460 ที่อำเภออำนาจเจริญ อุบลราชธานี บวชเณรตั้งแต่ พ.ศ.2472 อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2480 และอุทิศตนให้พระพุทธศาสนามา 76 พรรษา เป็นพระธรรมยุติกนิกาย เน้นการปฏิบัติภาวนาเคร่งครัดมีวัตรเรียบง่าย เคยเดินธุดงค์รอนแรมแบบพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ก่อนจะมุ่งหน้าสู่พระปริยัติธรรม จนได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้นำความเป็นคันถธุระและวิปัสสนาธุระ มาถือปฏิบัติได้อย่างลงตัว จนยกย่องท่านเป็น พระกรรมฐานกลางกรุง และเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็น ราชทินนามเดียวที่สถาปนาเฉพาะพระเถระฝ่ายธรรมยุต
ใน โอกาสที่เจ้าประคุณสมเด็จฯอายุครบ 96 ปี ท่านจึงเมตตาให้จัดสร้างวัตถุมงคล ที่รฤก ครบ 8 รอบ 96 พรรษา ขึ้น ประกอบด้วย 1. พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทธปริตร 2. เหรียญสมปรารถนา มังคลายุ 8 รอบ 3. พระผงพิมพ์ 3 มิติ 4. รูปเหมือน หน้าตัก 9 นิ้ว. เจ้าประคุณสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อัมพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เจ้า ประคุณสมเด็จฯ เป็นพระเถระผู้มีวัตรปฏิบัติเรียบง่ายงดงามแบบพระธรรมยุต บวชเณรเมื่อ พ.ศ.2480 ที่ราชบุรี และย้ายมาอยู่วัดราชบพิธฯตั้งแต่ปี 2490 โดยอุปสมบทกับ สมเด็จพระอริยวง-ศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนามหาเถร) การศึกษาสูงสุดคือปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยพาราณสี อินเดีย ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ตลอดเวลา ท่านมุ่งมั่นพัฒนาพระศาสนาอย่างเต็มที่ทุกๆด้าน มีภาระหน้าที่มากมาย อาทิ กรรมการสนามหลวงแผนกธรรมและบาลี กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เคยเป็นหัวหน้าธรรมทูตในต่างประเทศ กรรมการมหาเถรสมาคม และคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 ธรรมยุต ฯลฯ
เจ้าประคุณสมเด็จฯไม่เคยสร้างพระเครื่อง - วัตถุมงคลเลย แต่เมตตาเป็นประธานจุดเทียนชัยให้บางรุ่น เช่น พิธีมหาพุทธาภิเษก หลวงพ่อทวด รุ่น มงคลมหาบารมี 85 เมื่อ 24 ต.ค.56 ณ พระอุโบสถรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร และเมื่องานฉลองสมโภชอายุครบ 86 ปี เมื่อ พ.ศ.2556 คณะศิษย์จึงปีติยินดีมาก ที่เมตตาแจกวัตถุมงคลที่ระลึก. เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต ( จุนท์ พรหมคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบท ที่วัดบวรฯตั้งแต่ปี 2499 โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์
จากนั้นได้ศึกษาจนสำเร็จ ป.ธ.9 ประโยค และเจริญก้าวหน้า มีภาวะผู้นำ จึงมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญมากมาย เช่น กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองธรรมสนามหลวง ผู้รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการกองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย กรรมการชำระพระไตรปิฎก และเป็นผู้วางยุทธศาสตร์พุทธศาสนา หน้าที่พิเศษ ที่จะหาผู้ใดทำได้ยาก คือเป็นผู้ตรวจสอบการคำนวณ ปฏิทินจันทรคติของไทยก่อนประกาศใช้ ด้วยผลงานโดดเด่น และอุทิศตัวเพื่อพระศาสนา ในปี 2552 ท่านจึงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏทุกปี เมื่อถึงวันครบรอบวันเกิด กุฏิของท่านจะเต็มไปด้วยลูกศิษย์มากราบนมัสการ และหวังจะได้ พระกริ่งพุทธอุดมสมบูรณ์ หรือ พระกริ่งปุ้มปุ้ย ไปบูชา เพราะจัดสร้างตามสูตรโบราณพระกริ่งวัดบวรฯ นอกจากนั้น ท่านยังเป็นเจ้าพิธี จัดสร้างพระเครื่องรุ่นสำคัญๆของวัดบวรฯ รวมทั้ง พระกริ่ง บวรรังสี ในวาระครบวันประสูติ 6 รอบ ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯเมื่อ พ.ศ.2528.
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร จาก ผลงานที่ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ หรือ หลวงพ่อใหญ่ ทุ่มเทค้นคว้าภาษาบาลี ที่ได้หายไปจากพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยนานแล้ว และสร้างประวัติศาสตร์ ว่า บาลีใหญ่ ได้กลายมาเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของ สถาบันบาฬีศึกษาพุทธโฆส ที่นครปฐม ซึ่งท่านก่อตั้งขึ้น
ท่าน อุปสมบทในปี 2504 และตั้งใจเล่าเรียน เพียง 11 ปี ก็สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และยังศึกษาจนจบปริญญาโท M.A. สาขาประวัติศาสตร์อินเดียโบราณและโบราณเอเชียใต้ จบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมคธ และยังศึกษาอักษรพม่า ด้วยความมุ่งมั่น ท่านจึงทำให้สำนักวัดพิชยญาติการาม เป็นศูนย์การศึกษาปริยัติและวิปัสสนา และยังได้สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม “ธรรมโมลี” ที่ปากช่อง จึงถือว่า เจ้าประคุณสมเด็จ มีบทบาทในการนำ พระกรรมฐาน กลับมายุครุ่งเรืองอีกครั้ง เป็นพลังต้านความเสื่อมถอยของจิตใจได้อย่างเข้มแข็ง
แม้ จะเหนื่อยยาก แต่ท่านก็ทำโครงการได้ “สมปรารถนา” ราบรื่น โดยอัญเชิญบารมีของ พระสิทธารถ พระสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มาเป็นสัญลักษณ์ความสำเร็จ ตามความหมายของพระนามว่า “สมปรารถนา” โดยจัดสร้าง เหรียญและพระผง สมปรารถนา ให้สาธุชนบูชา มาตั้งแต่ปี 2540 ล่าสุดคือ พระพิมพ์สมเด็จสมปรารถนา. เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส เจ้า คุณสมเด็จฯวัดเทพฯ รูปนี้ ได้ชื่อว่าเป็นพระเถระฝ่ายธรรมยุต ที่มีวัตรปฏิบัติปฏิปทางดงามมาก ได้รับยกย่องเป็นพระนักปราชญ์ เพราะมีคุณวุฒิและปฏิภาณเป็นเลิศ พร้อมทั้งเมตตาธรรม คุณธรรม นับแต่บรรพชา ท่านก็หมั่นศึกษา จนจบเปรียญธรรม 8 ประโยค ตั้งแต่อายุเพียง 31 ปี 11 พรรษา จึงได้รับความไว้วางใจจากพระผู้ใหญ่ ให้เป็นกำลังช่วยกิจการงานพระศาสนา มีผลงานสำคัญระดับชาติและระดับนานาชาติ จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้น สุพรรณบัฏ เมื่อ พ.ศ.2553
ด้วย เมตตาธรรม ท่านจึงให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือทุกผู้คนเสมอ ด้วยความเรียบง่ายพองาม เช่นนำรายได้จากผู้บริจาคบูชา พระพิมพ์สมเด็จชินบัญชร เนื้อโลหะ อันมี “พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เส้นด้าย และพิมพ์ทรงเจดีย์” ไปช่วยเหลือคนไข้หัวใจ-สร้างหอพักพระไทยที่พาราณสี -สร้างโรงเรียนบ้านโนนงาม ศรีสะเกษ และอื่นๆมากมาย จนกล่าวกันว่า เมตตาของ หลวงพ่อสมเด็จวัดเทพฯ มีให้ตลอด 46 ปีวิถีพรต ของท่าน.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น