สนามพระ สนามพระเครื่อง 14/04/56
สนามพระ สนามพระเครื่อง 14/04/56
พระหลวงพ่อทวด หลังเตารีด พิมพ์เล็ก (อาปาเช่) 2505วัดช้างให้ ปัตตานี ของณนภ เลี้ยงถนอม.
ขอ ต้อนรับสู่ สนามพระวิภาวดี ใน มหาสงกรานต์ 2556 ด้วยการอาราธนาพระเครื่องเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของโบราณาจารย์ มาประสิทธิ์ประสาทพรอันประเสริฐให้มิตรรักแฟนคลับเนื่องในปีใหม่ไทย.....
องค์ แรก คือ พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ กรุวัดใหม่ อมตรส กรุงเทพฯ ซึ่งอดีตเป็นพระพิมพ์ บ๊วย ของตระกูล เพราะตอนเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2500 ได้พระพิมพ์นี้ที่มีสภาพสมบูรณ์ขึ้นจากกรุ มากที่สุด ขนาดองค์ย่อม พิมพ์ทรงดูบอบบางกว่าพระพิมพ์อื่น กรรมการวัดเลยตั้งราคาจำหน่ายไว้ถูกสุด องค์สวยๆแพงสุดแค่ 5-600 บาท.....
ต่างจากในปัจจุบันที่ เทรนด์ การเล่นพระเครื่องเปลี่ยนไป พระพิมพ์ใน ตระกูล 3 สมเด็จ ที่ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯโต สร้างไว้ทั้ง วัดระฆังฯ บางขุนพรหม เกศไชโย เป็นพระเครื่องลํ้าค่าที่หาได้ยากยิ่ง ราคาค่าความนิยมพุ่งสูง จึงไม่มีใครมานั่งเกี่ยงเรื่องพิมพ์ทรงกันแล้ว ขอให้พบพระแท้องค์สมบูรณ์ ทุกพิมพ์ ซื้อง่ายขายคล่องเหมือนกัน--จะคงความต่างระหว่างพิมพ์ไว้เพียงราคา ที่ยังมีค่าลดหลั่นกัน.....
องค์ ในภาพนี้ของ เสี่ยคเณศร พัทยา เป็นพระกรุใหม่สภาพสมบูรณ์ พิจารณาจากเนื้อที่ฟูฟ่าม และคราบนํ้าที่มีให้เห็นอยู่ทั่วองค์แล้ว เข้าใจว่าจะเป็นพระที่ถูกบรรจุไว้ด้านล่างของกรุที่ถูกนํ้าท่วมขัง องค์พระ สรงนํ้านานไป ทําให้เส้นศิลป์ดูบวมอวบอิ่ม จนขาดความคมชัดไปบ้าง แต่ยังดีที่ไม่มีรอยชํ้าจากการสัมผัสใช้ จึงดูสวยมีเสน่ห์ไม่น้อยหน้าใคร.....
องค์ที่สอง ที่นิมนต์มาฉลองสงกรานต์ คือพระกรุ พิมพ์พระแม่ธรณีบีบมวยผม วัดท้ายตลาด เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ .....
วัด นี้เดิมชื่อ วัดพุทไธสวรรค์ แล้วมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดโมลีโลกยาราม แต่ด้วยสถานที่ตั้งหลังวัดอยู่ติดคลองบางหลวง หน้าวัดเป็นตลาดสด ที่ชาวบ้านอาศัยท่านํ้าของวัดนําของขึ้นไปขาย จึงนิยมเรียกว่า วัดท้ายตลาด กันติดปาก.....
พระพิมพ์กรุนี้ มีบันทึกว่าสร้างบรรจุกรุไว้ในสมัย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ขุน) ราวปี พ.ศ.2432 (ปลายยุค ร.2) กรุมาแตกจากการลักลอบขุด ทําให้ต้องเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2480 ได้พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์จํานวนมหาศาล ประมาณว่า ถึง 84,000 องค์ เท่าจํานวนพระธรรมขันธ์.....
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ กรุวัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ ของคเณศร พัทยา.
พระทุกพิมพ์ทุกองค์มี เนื้อเป็นผงสีดําอมเขียว เหมือนกัน ด้านหลังมี ยันต์ประทับ กํากับไว้ทุกองค์ ภายหลังยังมีการค้นพบพระพิมพ์สกุลนี้ได้อีกที่ วัดนางชี วัดตะล่อม แต่มี สีเนื้อและคราบกรุต่างกัน ความงดงามอย่างอลังการของพิมพ์พระบอกชัดว่าน่าจะเป็น ฝีมือช่างหลวง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์.....
พระกรุตระกูลนี้จึงได้ชื่อว่ามีความงดงาม และมีแบบพิมพ์มากที่สุดในกระบวนพระกรุด้วยกัน พระพิมพ์เอก ของกรุ คือ พิมพ์สมาธิบัวสองชั้น มีราคาค่าความนิยมสูงถึง หลักแสน พระองค์นี้ของ เสี่ยอัศวัชร์ ไชยสายัณต์ จัดเป็น 1 ในพระพิมพ์พิเศษที่หายาก.....
องค์ ที่สาม คือ พระปิดตาเมฆสิทธิ์ พิมพ์ต้อ วัดอนงค์ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ของ เสี่ยโทน ทองพระเครื่อง เป็นพระสภาพเดิม เทหล่อจากเบ้ายังไงก็ปล่อยไว้แบบนั้น ไม่มีการตกเติมเสริมสวยใดๆ เจ้าของเดิมเลี่ยมเงินไว้ ให้ผิวพระได้สัมผัสเนื้อตัวมาพอสมควร ผิวพระส่วนนูนสุด จึงเปิดให้เห็น เนื้อใน ที่มีความเงางามจากในเนื้อ ซึ่งเป็นจุดสําคัญ ในการพิจารณาพระแท้ที่ต้องจดจําให้แม่นๆ.....
รายการ ต่อไป คือ พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี พิมพ์ปั้นลอยองค์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระรุ่นแรกๆที่หลวงพ่อสร้างแจกผู้มีส่วนร่วมในการสร้าง วัด ซึ่งต้องรอนแรมเดินทางเสี่ยงภัยร่วมกับท่านไปตัดไม้ในป่ามาเลื่อยมาซอยเป็น แผ่นกระดานที่วัด บางทีจึงเรียกว่ารุ่นแลกซุง.....
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์กลาง ของอัยการวัชรินทร์ ภาณุรัตน์.
โดย ผสมเนื้อปั้นพระขึ้นทีละองค์ พระแต่ละองค์จึงมีลักษณะเป็น พระนั่งปิดตาลอยองค์ พิมพ์คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว ขนาดและรายละเอียดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับฝีมือคนปั้น แต่เนื้อมวลสารทําสําเร็จเป็นสูตรเดียวกันด้วยมือหลวงพ่อเอง มีเนื้อน้ำตาลและน้ำตาลเข้มเกือบดำ และเสกกํากับมอบให้ผู้รับด้วยตัวท่านเองทุกองค์ .....
อานุภาพความ ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากจะเด่นชัดเรื่องคุ้มครองป้องกันภัยแล้วยังลือเลื่องด้านเมตตา มหา ลาภ มหาเสน่ห์ อย่างสูง ขนาดได้รับการยกย่องให้เป็น จักรพรรดิพระปิดตาเนื้อผง องค์ในภาพนี้เป็นของ เสี่ยธน ศิวดลวานิช (โจ พัทยา) เป็นพระประเภทเนื้อจัดสวยเจ๋ง ที่น่าเสียดายว่าถ้าเป็น พระพิมพ์ใหญ่หลังแบบ ราคาคงต้องว่ากันที่ หลักสิบล้าน แน่ๆ.....
องค์ต่อไปเป็นพระที่คน หาติดตัวช่วงสงกรานต์ ซึ่งต้องขับรถขึ้นเหนือ ล่องใต้ออกตก คือ พระหลวงพ่อทวด หลังเตารีด พิมพ์เล็ก (อาปาเช่) ปี พ.ศ.2505 วัดช้างให้ ปัตตานี องค์นี้ของ รอง ผอ. ณนภ เลี้ยงถนอม ส่งภาพมาโชว์แฟนๆ เพราะเชื่อว่าพระตัวเองสวยแชมป์ ใครมีสวยกว่าก็ส่งมาสู้ได้ไม่ว่ากัน.....
วันนี้พระปิดตามาเป็นขบวนเลย เพราะอีกองค์คือ พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์กลาง ของ อัยการวัชรินทร์ ภาณุรัตน์.....
พระปิดตาเมฆสิทธิ์ พิมพ์ต้อ วัดอนงคาราม กรุงเทพฯ ของโทนทองพระเครื่อง.
ต้อง ยอมรับว่า พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว มีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์จริงๆ เพราะ หลวงพ่อแก้ว ซึ่งเป็นพระที่มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างรางเลือน สามารถสร้างตำนานให้พระของท่าน เป็น พระปิดตายอดนิยมอันดับหนึ่ง ได้แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว จึงถือว่าพลังความอานุภาพ ความศักดิ์สิทธิ์ของ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว ที่จัดสร้างจาก ผงลบอักขระ ผสม ผงวิเศษ 5 ประการ มีอยู่เต็มเปี่ยม.....
อีกองค์จากรังท่านอัยการเหมือนกัน คือ พระบูชาหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปัตตานี ซึ่งหาดูยาก.....
ตอน อาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ปัตตานี สร้าง พระเนื้อว่านรุ่นแรก ขึ้นในปี 2497 ได้จัดสร้าง พระบูชา ด้วยเนื้อเดียวกันด้วย.....
แต่ไม่มากเพราะต้องใช้เนื้อว่านเปลือง ท่านจึงจัดสร้างขนาดหน้าตัก 1.5 นิ้ว และ 3 นิ้ว.....
พระแม่ธรณีบีบมวยผม วัดท้ายตลาด กรุงเทพฯ พิมพ์สมาธิบัวสองชั้น ของอัศวัชร์ ไชยสายัณต์.
ต่อ มาในปี 2500 ที่มีการสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อโลหะรุ่นแรก คือหลังเตารีด ก็มีการสร้างพระบูชาเหมือนกัน แต่เป็นเนื้อปูน เนื้อโลหะ จนรุ่นปี 02 ก็มีการสร้าง พระบูชา เนื้อว่าน อีก เรียกว่า รุ่นลอยน้ำ.....
พระ ใหม่ ที่มาเปิดตัวช่วงมหาสงกรานต์พอดี มาจากสำนักดัง คือ วัดสว่างอารมณ์ (ปากอ่าวบางเหี้ย) อ.บางบ่อ สมุทรปราการ ซึ่ง หลวงพ่อปาน ได้สร้างตำนาน เขี้ยวเสือ ไว้เป็นเครื่องรางอันดับหนึ่ง--วัดสว่างอารมณ์ จึงได้สานสืบต่อการสร้าง “เสือ” ตำรับของหลวงพ่อปาน มานานกว่า 100 ปี.....
โดย เฉพาะ เขี้ยวเสือโปร่งฟ้า คือ เขี้ยวเสือที่มีรูทะลุตั้งแต่โคนถึงปลายเขี้ยว (ตามธรรมชาติของเขี้ยวเสือจะตัน ไม่มีรู) โบราณาจารย์จึงถือว่า เป็น ทนสิทธิ์ เป็นของอาถรรพณ์ที่มีดีในตัว อานุภาพโดดเด่นด้านมหาอำนาจ ป้องกันภูตผีปีศาจ คุณไสย อีกทั้งมีดีทางด้านมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี อิทธิฤทธิ์แรงกล้า .....
และนับเป็นครั้งแรกที่มีการ อาราธนาบารมีของ หลวงปู่ทวด และ หลวงพ่อปาน (บางเหี้ย) สองอมตะพระเกจิคณาจารย์ มาสร้างเป็นวัตถุมงคล รุ่น ชัยบารมีทวีลาภ ขึ้น.....
เหรียญเสมาพุทธซ้อน หลวงปู่ทวด-หลวงพ่อปาน และ เสือหลวงพ่อปาน รุ่น ชัยบารมีทวีลาภ วัดสว่างอารมณ์.
รุ่น ชัยบารมีทวีลาภ จัดสร้างเป็น เหรียญเสมาพุทธซ้อน หลวงปู่ทวด–หลวงพ่อปาน เสือหลวงพ่อปาน โปร่งฟ้า เนื้อเหล็กน้ำพี้ ระฆังสามอริยสงฆ์ โดยประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ ณ พระอุโบสถวัดสว่างอารมณ์ วัดท่าแพ วัดดีหลวง วัดพะโคะ วัดช้างให้ และวาระที่สาม เมื่อ 6 เมษายน จัด ณ มณฑลพิธี วัดสว่างอารมณ์ โดยมี พระธรรมภาวนาวิกรม (ท่านเจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมด้วยพระเกจิชื่อดังนั่งปรก อธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ, หลวงเจ้าหรีด วัดป่าโมก, หลวงปู่ฮก วัดมาบลำบิด, หลวงพ่อวิบูลย์ วัดลำต้อยติ่ง, หลวงพ่อถิ วัดสว่างอารมณ์-ศิษยานุศิษย์จึงไปร่วมงานแบบมืดฟ้ามัวดิน และร่วมทำบุญบูชา เพื่อนำปัจจัยไปสร้าง พุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบล (จำลอง)
ลาไปเปียกเพื่ออนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์โบราณของไทย กันด้วยเรื่องของพระนักการ เมือง ว่าเขาใช้อะไรกันมั่ง.....
วัน ก่อนที่ จิรวุฒิ สิงห์โตทอง เลขาฯรมต.คลัง ส.ส.แปดริ้ว สมชัย อัศวชัยโสภณ สุรพร ดนัยตั้งตระกูล ซึ่งชอบพระนั่งคุยกัน ก็เลยล้วงควักพระออกมาดูกันใหญ่.....
ของ ส.ส.สมชัย นั้นมีหลายองค์ ดีๆทั้งนั้น เช่น เหรียญหลวงพ่อโสธร พิมพ์สองหน้า เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่างาม เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว พระปิดตา หลวงปู่จีน ฯลฯ.....
พระบูชาหลวงพ่อทวด 2497 วัดช้างให้ ปัตตานี ของอัยการวัชรินทร์ ภาณุรัตน์.
ตอน ทุกคนคุยกันว่าใช้พระไม่เคยขาดคอ ต้องติดตัวตลอด เลขาจิรวุฒิ ก็เออออ บอกว่า เหมือนกันเรยย์ ขาดพระไม่ได้ ว่าแล้วก็ล้วง พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ ให้ทุกคนดู เล่นเอาอึ้งไปเลย เพราะโอ้โห ไม่เคยเห็นมาก่อน เลยส่องไปงงไป.....
จนได้ยิน เลขาจิรวุฒิ บอกว่า ใช้ติดตัวไม่เคยถอด ตื่นก็ใส่ นอนก็ใส่ อาบน้ำก็ใส่ ทุกคนก็เลยถึงบางอ้อ นึกแร้วเชียว ว่าทำไม พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ องค์นี้ถึงได้ไม่เหมือนองค์อื่นๆ .....
ส.ส.สม ชัย เลยบอกว่า จะห้อยอะไรกันนักหนา 24 ชั่วโมง อยู่บ้านถอดมั่งก็ได้ กลัวอะไร เลขาจิรวุฒิ บอก ไม่ได้กลัวอะไร แต่กลัวหาย เพราะเป็นคนขี้ลืมขนาดหนัก จำได้แต่เมีย.....
ทุกคนเลยบอกว่า ต่อไปนี้ เวลาอยู่บ้านให้ถอดเถอะ พระจะได้ไม่ต้องสรงน้ำด้วยวันละ 2 เวลา จนสภาพ ฉ่ำน้ำ เหมือนไปเล่นสงกรานต์ เพราะเลี่ยมตลับมิดชิด พออาบน้ำ ความ ชื้นจากละอองน้ำเลยเข้าไปในตลับได้ แต่ออกไม่ได้--ขืนสรงน้ำพระต่อไป รับรองพระจะโชว์อภินิหาร หายตัวได้ ทั้งๆที่อยู่ในตลับ เพราะถูกน้ำละลาย เจ้าค่ะ อามิตตพุทธ.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น