สนามพระ สนามพระเครื่อง 07/04/56
สนามพระ สนามพระเครื่อง 07/04/56
พระปางประทานพร กรุเจดีย์เล็ก วัดใหม่อมตรส ของ ส.ส.ชาญยุทธ เจน-ธัญญารักษณ์.
อีก 5 วัน เราก็ได้บันเทิงรับสงกรานต์กัน 6 วัน เพราะหยุดจริงหยุดชดเชยตั้งแต่ 12-17 เมษา เป็นที่ฮาเฮมาก ส่วน สีกาอ่าง ก็หลบน้ำอยู่ในบ้านเหมือนทุกปี เพราะรู้แล้วและเข็ดแล้ว ที่ออกไปนอกเมืองไม่ว่าจะสายไหนต้องเจอรถติดแหง็กเป็นชั่วโมงๆ.....
ท่าน ผู้ชมที่จะกลับไปเยี่ยมญาติต่างจังหวัด ต้องจัดเวลาให้เหมาะๆ เช่นไปก่อนกลับก่อน หรือไปหลังกลับก่อน ได้ก็ดี --แต่ถ้าไปก่อนกลับหลัง ระวังเจ้านายจะเชิญพักร้อนไม่มีกำหนด.....
วันนี้ พระเครื่องที่จัดมา องค์แรกคือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ของเลขาฯ รมต.กระทรวงการคลัง จิรวุฒิ สิงห์โตทอง ที่ตะแรกเห็นภาพ ดูพิมพ์ ก็ว่าเป็นวัดระฆังฯ แต่พอเห็น เนื้อแก่ปูนเป็นสีขาวนวล และ ผิวที่มีคราบฝ้ารากรุ ฝังแน่นอยู่ในซอกเนื้อส่วนลึกทั่วองค์แล้ว จึงรู้ชัดว่าเป็น พระพิมพ์วัดระฆังฯ เนื้อพระบางขุนพรหม บรรจุกรุวัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) ที่นักนิยมพระเรียกว่า พระสองคลอง ที่เดี๋ยวนี้ แทบไม่มีให้เห็น.....
พระรอด เนื้อเขียว พิมพ์เล็ก กรุวัดมหาวัน ลําพูน ของอมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์.
เพราะ ถือโอกาสทองเข้าข้าง ที่ พิมพ์เป็นวัดระฆัง เลยนําไป เก็บ (ลอก) คราบกรุบางขุนพรหมออก เพื่อขายเป็น วัดระฆังฯ ไปหมด เพราะได้ราคากว่าเยอะ .....
ก่อนลงภาพก็ได้คุยกับเจ้าของพระ ที่เดิมก็เข้าใจว่าเป็น พระวัดระฆังฯฝั่งธนฯ และด้วยความเป็น คนจริง แบบ เฮียซุ้ย-ดํารงค์ สิงห์โตทอง จึงยอมรับได้ในเหตุผล และยินดีให้เปิดเผยว่า เป็น พระสองคลอง จะได้ไว้เป็น องค์ศึกษา ของนักสะสม.....
ก่อนนี้ เวลาเจอ พระสองคลอง นักเลงรุ่นเก่าจะทำหมางเมินว่า ไม่รู้วัดไหนกันแน่ แต่ สีกาอ่าง กลับ เห็นต่าง ว่านี่แหละมีคุณค่าสุดๆ.....
เพราะพระจะเป็นวัดอะไร เนื้ออะไร ก็เป็นของ ท่านผู้สร้างองค์เดียวกัน เจตนาในการสร้างและพุทธคุณที่ปลุกเสกอธิษฐานจิตไว้ก็เหมือนกัน จึงเหมือนกับไม่ต่าง.....
พระพิมพ์ปางสมาธิ กวางใหญ่ หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี องค์แชมป์รุ่น ของธน ศิวดลวานิช.
และ วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหมใน) และ วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก) เดิมก็คือวัด วัดบางขุนพรหม ซึ่ง สมเด็จโต มีความผูกพันมาก เพราะตอนที่ท่านเป็นสามเณรเข้ามาเมืองหลวง ก็ได้ พระโหราธิบดี พระวิเชียร และ เสมียนตรา (ด้วง ธนโกเศศ) กับบรรดาคหบดีของบางขุนพรหมดูแลเกื้อหนุน.....
พอ สมเด็จพระ เจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร โปรดให้ สามเณรโต ไปอยู่กับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุฯ และต่อมาให้ไปครองวัดระฆัง ท่านก็ยังไปมาหาสู่กับชาวบางขุน-พรหมอยู่.....
หลังขอพระราชทานออก จากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังฯแล้ว ท่านได้ให้ช่างเขียนประวัติของท่านไว้ที่ผนังโบสถ์วัดบางขุนพรหมนอก(วัด อินทร์ฯ) และสร้างพระโตไว้ ตอนมรณภาพ ก็สิ้นที่วัดอินทรฯ ดังนั้น สีกาอ่าง ถึงเห็นว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ เนื้อบางขุนพรหม กรุวัดใหม่อมตรส ก็ล้วนแต่เป็นวัดของท่าน พระสองคลอง จึงเต็มไปด้วยความหมายที่มีคุณค่าเวรี่มาก--หาได้ที่ไหน.....
องค์ที่สองคือ พระพิมพ์ยืนปางประทานพร กรุเจดีย์เล็ก วัดใหม่อมตรส ของ ส.ส.ชาญยุทธ เจนธัญญารักษณ์.....
พระแก้วจุยเจีย (หินสี) กรุเมืองฮอด ของอาจารย์ณนบ เลี้ยงถนอม โรงเรียนวัดธาตุทอง.
ตอน ที่ เสมียนตรา (ด้วง) บูรณะวัดบางขุนพรหมใน (วัดใหม่อมตรส) ได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่และบรรจุ พระสมเด็จบาง-ขุนพรหม ไว้ ซึ่งเปิดกรุอย่างเป็นทางการในปี 2500 ซึ่งมีประวัติการสร้างที่ค่อนข้างชัดเจน.....
ส่วน พระสมเด็จบาง-ขุนพรหม ในกรุเจดีย์เล็ก เพิ่งมาพบเมื่อ พ.ศ.2508 จึงเรียกว่า พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเจดีย์เล็ก ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างไว้เมื่อไหร่ แต่ประ-มาณการจากสภาพเนื้อและคราบกรุแล้วมีความเก่ามาก จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นพระที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับ พระสมเด็จบางขุนพรหม หรืออาจจะสร้างขึ้นมาภายหลังไม่นาน.....
พระที่พบมี 6 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานหมอ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าหมอน พิมพ์ยืนประทานพร และ พิมพ์ไสยาสน์.....
ตามมาด้วย พระรอด (เนื้อเขียว) พิมพ์เล็ก กรุวัดมหาวัน ลําพูน ของ เสี่ยอมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์.....
องค์ นี้ความสวยอาจไม่ถึงที่สุด แต่มีดีที่พิมพ์ ฟอร์ม เนื้อ และผิว อยู่ในสภาพเดิมเต็มร้อย ไม่มีร่องรอยสัมผัสใช้เติมแต่ง คราบกรุสีแดงเป็นเอกลักษณ์ บอกลักษณะพระกรุเมืองเหนือที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขา ผิวหน้าเป็นดินลูกรัง.....
จากศิลาจารึก ของ ศ.ยอร์ช เซเดย์ นักโบราณคดี ทำให้เราได้ทราบตำนานพระเครื่องเมืองเหนือว่า พระนางจามเทวี ได้สถาปนาวัดสี่มุมเมืองขึ้นเมื่อ พ.ศ.1223 และให้พระฤษี คือ พระสุกฤทันตฤษี พระสุเทวฤษี พระสุพรหมฤษี และ พระสุมณนารทะฤษี สร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ในวัดทั้ง 4 ทิศ คือ พระคง บรรจุวัดพระคง ทางทิศเหนือ พระเลี่ยง บรรจุวัดประตูลี้ ทิศใต้ พระบาง พระเปิม บรรจุทิศดอนแก้ว ทิศตะวันออก และ พระรอด บรรจุวัดมหาวัน ทิศตะวันตก.....
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ของจิรวุฒิ สิงห์โตทอง.
อายุ การสร้างพระพิมพ์ต่างๆจึงเก่าแก่ถึง 1,333 ปี ถือว่ามีอายุการสร้างสูงสุดในพระชุดเบญจภาคี และมีอายุในกรุนานถึง 1,200 ปี ก่อนจะได้พบพระรอดครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2435 ตอนที่มีการบูรณะพระเจดีย์วัดมหาวัน.....
ต่อมา ได้พบพระรอดอีกหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ.2451 ในสมัย เจ้าหลวงอินทยงยศ พ.ศ.2498 ตอนรื้อกุฏิเจ้าอาวาสสร้างใหม่ และสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2506 ตอนรื้อพระอุโบสถบูรณะ ก็พบพระรอดอีกประมาณ 200 และพระพิมพ์อื่นเช่น พระบาง พระคง พระสามฯ แต่ไม่เคยพบ พระรอด ในกรุอื่นเลย--ถ้าพบก็ต้องสงสัยว่า อาจเป็น พระยัดกรุ ที่นิยมสร้าง สตอรี่ กันประจำ แต่ ไม่รอด เพราะคนรู้ทัน.....
องค์ต่อไป ขอเสนอ รูปเหมือนจําลอง พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เนื้อนวโลหะ K 14 รุ่นแรก ของ เสี่ยกิติเดช เขียวศรี.....
พระ อาจารย์ฝั้น เกิด พ.ศ. 2442 ที่พรรณานิคม สกลนคร มีชาติตระกูลสูง เพราะเป็นบุตรของ เจ้าไชยกุมมาร (เม้า) ตระกูลเจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาก็เป็นสาย หลวงประชานุรักษ์ .....
ต่อมา ท่านเกิดสลดใจที่ได้เห็นเรื่องต่างๆซึ่งแสดงถึงความไม่แน่นอน เช่นคนระดับเจ้าเมืองยังต้องติดคุก จึงเลิกล้มความคิดที่จะเข้ารับราชการ แล้วไปบวช ระหว่างเดินธุดงค์ติดตามอาจารย์เพื่อฝึกหัดกัมมัฏฐานในปี พ.ศ.2463 ได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แสดงธรรมให้ชาวบ้านฟังที่วัดบ้านม่วงไข่ แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงขอมอบตัวเป็นศิษย์นับแต่นั้น และต่อมาได้เป็นกองทัพธรรมที่สำคัญของ พระอาจารย์มั่น .....
พระกริ่งบรรณรสมงคลมุนี วัดสุทัศนฯ 2490 พิมพ์พระกริ่งเชียงตุง ของ ส.ส.ชาญยุทธ เจนธัญญารักษ์.
รายการ ต่อไป คือ พระกริ่งบรรณรสมงคลมุนี เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศนฯ จัดสร้าง พ.ศ.2490พิมพ์พระมี 2 ลักษณะ คือ แบบพระกริ่งเชียงตุง จำนวน 5 องค์ และแบบพระกริ่งวัดช้าง จำนวน 10 องค์ แต่ขนาดจะเล็กกว่า เนื้อจะต่างกัน.....
เชื่อกันว่าเป็นพระที่สร้างส่วนตัวกรณีพิเศษ ใครได้ไว้ต้องถือว่าโชคดียิ่ง พิมพ์พระกริ่งเชียงตุง ของ ส.ส.ชาญยุทธ เจนธัญญารักษ์ ถือว่าเป็นผู้โชคดีสุดๆเพราะมีเพียง 1 ใน 5 องค์ในโลก .....
อีก สำนักเป็นของ พระดีแห่งยุค คือ พระพิมพ์ปางสมาธิ กวางใหญ่ หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ของ เสี่ยธน ศิวดลวานิช ซึ่งเป็นองค์แชมป์ของรุ่นที่มีราคาค่าความนิยมสูงถึง หลักแสนกลางๆ .....
รูปเหมือนจําลอง พระอาจารย์ฝั้น เนื้อนวโลหะ K 14 รุ่นแรก ของกิติเดช เขียวศรี.
ต่อ ด้วย พระเนื้อผงพุทธคุณ พิมพ์ใหญ่ วัดรังษี บางลําภู พระพิมพ์ยอดนิยมราคาหลักแสน ของ พระธรรมกิติ เจ้าอาวาสวัดรังษี ที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ นิพนธ์ในว่า ใช้พระวัดรังษี ชีวีไม่วอดวาย จึงบอกถึงคุณค่าของ “พระวัดรังษี” ได้อย่างชัดเจน ในอดีต พระวัดรังษี จึงแพงกว่าพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม 2-3 เท่า.....
เดิม วัดรังษี ตั้งอยู่ติดกับวัดบวรฯ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ-วริยาลงกรณ์ฯ แห่งวัดบวรฯ กับ พระธรรมกิติ เจ้าอาวาสวัดรังษี ก็สนิทสนมกัน เมื่อ ท่านเจ้าคุณธรรมกิติ มรณภาพ สมเด็จมหาสมณเจ้าฯจึงยุบรวมวัดรังษีเข้ากับวัดบวรฯและตั้งเป็นคณะบวรรัง ษี.....
พระวัดรังษี เป็นพระเนื้อผง ปิดทอง ซึ่งใช้ทองคำเปลวปิดลงบนแม่พิมพ์ แล้วกดพิมพ์ลงไป พอถอดพระออก ทองคำ เปลวก็จะติดบนองค์พระ แต่ไม่แน่นเหมือนจุ่มรักแล้วเอาปิดทองคำเปลว พออายุกาลเป็นร้อยปีทองคำเปลวจึงมักหลุดลอกออกไป-- องค์นี้ของ เสี่ยเคี้ยง ยศเส.....
เทวรูปพระคลังมหาสมบัติ รุ่นแรก กรมธนารักษ์.
สุดท้ายคือ พระแก้วจุยเจีย (หินสี) กรุเมืองฮอด ของ อาจารย์ณนบ เลี้ยงถนอม รอง ผอ.โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง.....
จุ ยเจีย ก็คือ แร่ หรือหินควอทซ์ชนิดหนึ่ง มีความใส สีขาว สีเหลือง สีเขียวอ่อน มีความแข็งระดับพลอยเนื้ออ่อน บางทีเรียกว่า หินเขี้ยวหนุมาน ซึ่งโบราณเชื่อว่ามีดีในตัว.....
ระหว่างสร้างเขื่อนภูมิพล ก่อนจะปล่อยน้ำเข้าเขื่อน ซึ่งจะทำให้หลายพื้นที่จมอยู่ใต้เขื่อน กรมศิลปากรเปิดพระเจดีย์ทุกวัดในเมืองฮอดในปี 2502-2503 เพื่อนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุมาเก็บรักษาไว้ .....
ครั้งนั้นได้พบ พระแก้ว มากที่สุด เนื้อดีที่สุด ใสสุด เรียกว่า จุยเจีย ซึ่งคนจีนเชื่อว่า สามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายอาถรรพณ์ได้.....
พระ แก้วเมืองฮอด พบหลายวัด เช่นวัดเจดีย์สูง แต่พบมากที่สุดที่ วัดศรีโขง มีเนื้อสีขาว (เพชรน้ำค้าง) และเนื้อสีเหลือง (บุศย์นํ้าทอง) ศิลปะเชียงแสน เมื่อเทียบเคียงกับเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งที่ขุดพบในกรุเดียวกัน ตรงกับ พ.ศ.2065-2110 จึงบอกได้ว่า พระแก้วกรุเมืองฮอด มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ซึ่งเป็นยุคทองของเชียงใหม่ ที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์กำลังรุ่งเรือง ศิลปะการฝีมือจึงรังสรรค์ได้งดงาม ใครได้ไว้ก็จะนิยมตกแต่งด้วยของมีค่า พระจึงสวยงามยิ่งขึ้น--พระแก้วกรุเมืองฮอด งามๆเนื้อใสๆจึงมีราคาแพงหลักแสน จึงมีพระเก๊เกลื่อน.....
เข้า สนามพระใหม่ วันนี้ยกสัมปทานให้ พระคลังมหาสมบัติ ซึ่งติด ทำเนียบพระดังแห่งปี ตั้งแต่เปิดตัว เพราะเป็นการจัดสร้าง ครั้งแรก หลังจาก รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ หล่อ เทวรูปพระคลัง ขึ้นเพื่อให้เป็นเทวดาคุ้มครองรักษาทรัพย์ของแผ่นดิน.....
เทวรูปพระ คลัง ลักษณะคล้าย พระสยามเทวาธิราช เป็นเทวดา ยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช สวมมงกุฎยอดชัย ไม่มียอดแหลมเหมือนมงกุฎพระสยามเทวาธิราช พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว สถิตในเรือนแก้วที่ทำด้วยไม้จันทน์ ด้านซ้ายและขวาตั้งเทวรูปพระสุรัสวดี พระพราหมณ์ ส่วน พระสยามเทวาธิราช ตั้งรูปพระอิศวร พระอุมา และเบื้องหลังตั้งรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ.....
สำหรับวิมานเก๋งจีน ที่ เทวรูปพระคลัง สถิตอยู่ ทำด้วยไม้แกะสลักแบบจีน ทาชาดสีแดง แกะสลักลวดลายแบบจีน ซึ่ง พระ-ยาไชยยศสมบัติ เป็นผู้จัดทำมาจากเมืองจีน ใน พ.ศ.2428--ถ้าจะนับถึงปีนี้ เทวรูปพระคลัง มีอายุยืนยาวถึง 128 ปี .....
พระเนื้อผงพุทธคุณ พิมพ์ใหญ่ วัดรังษี บางลําภู ของเคี้ยง ยศเส.
ใน โอกาสที่ กรมธนารักษ์ หรือเดิมคือ กรมเก็บ หรือ กรมพระคลังมหาสมบัติ สุดท้ายคือ กรมธนารักษ์ ก่อตั้งมาครบ 80 ปี จึงมีการจัดสร้าง พระคลังมหาสมบัติ เป็นแบบ ลอยองค์ ขึ้น และจัดพิธี เทวาภิเษกครั้งแรก รวมทั้ง พิธีบูชานพเคราะห์ และ มังคลาภิเษก อย่างยิ่งใหญ่ ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจของประชาชน ข้าราชการ ในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ.....
พระคลังมหา สมบัติ ลอยองค์ สูง 29 ซม. จัดสร้าง 3 เนื้อ คือ ทองคำ ราคา 10 ล้านทอน 1 บาท เนื้อเงิน องค์ละ 165,000 และ เนื้อโลหะผสม ปิดด้วยทองคำเปลว 16,500 บาท--
เรื่องราวฮาๆ วันนี้ มาจากสองเกลอ เสี่ยวิชากับ เสี่ยสถิตย์ ซึ่งเป็นคนสิงห์บุรี โตมาด้วยกันเรียนด้วยกันแต่ดันเกาเหลา ไม่ค่อยกินเส้นกัน เจอทีไรต้องจิกกัดกันตาหลอด พอเรียนจบก็แยกย้ายไปคนละทาง.....
วัน ก่อนต่างคนต่างกลับไปบ้านเกิด พอเจอหน้ากันปุ๊บก็เลยรำลึกความหลัง เปิดฉากลุยกันทันที โดย เสี่ยวิชา บอก เสี่ยสถิตย์ ที่กำลังส่องพระอยู่ว่า พระน่ะดี แต่ช่วยคนอย่างมึงไม่ได้หรอก--เลยทะเลาะกัน สุดท้ายถึงขั้นท้ายิง แล้วก็ยิงกันจริงๆ จนไทยมุงหลบกันโกลาหล.....
ผลการรบ ปรากฏว่าทั้งคู่ไม่เป็นอะไร ซึ่งเชื่อว่าเพราะ พระหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่มีกันคนละองค์ แต่ที่ชาวบ้านแปลกใจมาก ก็คือหลังจากดวลกัน ทั้งคู่กลายมาเป็นเพื่อนรักสุดเลิฟกันไปเรยย์.....
แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นเพราะหลวงปู่อีกอ่ะป่าว รู้แต่ว่าตอนยิงกัน แต่ไม่โดนกันเพราะต่างคนต่างหลบไว แต่ชาวบ้านโดนเต็มๆ.....
ก็ เลยเป็นเรื่อง เสี่ยวิชา กับ เสี่ยสถิตย์ เลยรีบเจรจาขอชดใช้ค่ารักษาและค่าทำขวัญ จะได้ไม่ต้องเป็นคดี เลยโดนคนเจ็บเรียกซะแบบรวย.....
มือปืนทั้งคู่เลยต้องไปกู้เงินก้อน โตมาจ่าย จึงได้เห็นน้ำใจกัน เพราะตอน เสี่ยวิชา กู้ ก็ให้ เสี่ยสถิตย์ ช่วยค้ำประกันให้ พอ เสี่ยสถิตย์ ไปกู้ ก็ได้ เสี่ยวิชา ค้ำ ทำให้ต้องสามัคคีกันไว้ แบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เจ้าค่ะ อามิตตพุทธ.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น